กล้องดิจิทัลแบบ full frame เป็นตัวเลือกที่ดีที่คุณจะอัปเกรดเลือกใช้งาน เนื่องจากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รุ่นที่มีเซนเซอร์ภาพขนาด 24 x 36 มม. ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับกรอบของฟิล์ม 35 มม. มีราคาย่อมเยามากขึ้นเรื่อยๆ และแม้ว่ารูปแบบเซนเซอร์ APS-C ที่เล็ก แต่ก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสำหรับกล้อง SLR ระดับเริ่มต้นและกล้อง mirrorless
ซึ่งรูปแบบเหล่านี้ค่อนข้างมีข้อได้เปรียบอย่างมาก ด้วยเซนเซอร์ที่มีพื้นที่ผิวประมาณสองเท่าของรุ่น APS-C ซึ่งมันช่วยให้ช่างภาพสามารถควบคุมระยะความชัดลึกของภาพได้ดีมากขึ้น
ดังนั้นหากคุณกำลังคิดที่จะอัปเกรดหรือเปลี่ยนมาใช้กล้อง SLR mirrorless หรือกล้องเลนส์คงที่ เรามีกล้อง full frame ที่ดีที่สุดและยังน่าใช้อยู่ ซึ่งเราได้มีการทดสอบมาให้คุณได้เลือกซื้อดังนี้
1. Canon EOS R3
ข้อดี
+ โฟกัสอัตโนมัติที่ชาญฉลาดด้วยการจดจำวัตถุที่ดีเยี่ยม
+ การถ่ายภาพ Raw 14 bit ที่สูงสุด 30fps
+ ช่องมองภาพ HDR ขนาดใหญ่พร้อมการจำลอง OVF
+ รองรับหน่วยความจำ CFexpress และ UHS-II SD
+ ตัวเลือกการเชื่อมต่อทั้งแบบมีสายและไร้สาย
+ ตัวกล้องมีขนาดด้ามจับที่พอดีมือ
+ โหมดวิดีโอ 6K60 Raw และ 4K120
ข้อเสีย
– โฟกัสการควบคุมการมองไม่ได้น่าแปลกใจมากนัก
– รองรับการชาร์จ Finicky USB-C
กล้อง R3 เน้นความเร็วเป็นหลักที่สามารถให้การโฟกัสได้ทันที รองรับการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ 30fps และมีระบบโฟกัสอัตโนมัติที่ระบุและติดตามวัตถุหลายประเภทอย่างชาญฉลาด ซึ่งนี่เป็นกล้องในฝันของช่างภาพหลายคนเช่น ช่างภาพที่ถ่ายกีฬาประเภททีม ถ่ายภาพสัตว์ในป่า หรือแม้แต่การถ่ายภาพงานแต่งงานและงานอื่นๆ นอกจากนี้ช่างถ่ายวิดีโอก็สามารถใช้งานมันได้เช่นกัน เนื่องจากมันมีการบันทึก 10bit พร้อม flat profile ที่คุณภาพสูงสุดถึง 6K
2. Canon EOS R6 Mark II
ข้อดี
+ เซนเซอร์ full frame ที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว
+ โฟกัสอัตโนมัติอันดับต้นๆ ในกล้องระดับเดียวเดียวกัน
+ คุณภาพของภาพถ่ายที่ยอดเยี่ยม
+ ตัวกล้องจาก Magnesium พร้อมระบบป้องกันฝุ่นและละอองน้ำ
+ EVF ที่คมชัด และหน้าจอ LCD ระบบสัมผัสในรูปแบบปรับหมุนออก
+ ระบบติดตาม 40fps ด้วยชัตเตอร์แบบ electronic
+ วิดีโอ 4K60 แบบความกว้างเต็มรูปแบบ พร้อมสี 10 bit
+ รองรับ 6K ผ่าน HDMI
ข้อเสีย
– การรองรับเลนส์ของบริษัทอื่นที่จำกัด
– พอร์ต micro HDMI ที่เปราะบาง
กล้อง EOS R6 Mark II ระบบ mirrorless ของ Canon เป็นกล้องระดับกลางหนึ่งตัวที่เหมาะสมทั้งสำหรับการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ แน่นอนว่ามันเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นช่างภาพสัตว์ป่าหรือกีฬาที่ต้องการถ่ายภาพต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมันมีชัตเตอร์ mechanical 12fps และชัตเตอร์ electronic 40fps ที่มาในราคาที่เอื้อมถึง และในขณะเดียวกัน หากคุณสนใจเกี่ยวกับการบันทึกวิดีโอ ตัวเลือก C-Log3 แบบ 10 bit ก็เป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน
3. Panasonic Lumix DC-S5
ข้อดี
+ เซนเซอร์ full frame 24MP ที่ยอดเยี่ยม
+ ระบบ IBIS แบบ 5 แกน
+ ระบบโฟกัส DFD ที่ได้รับการปรับปรุง
+ วิดีโอ 4K60 10bit
+ 5.9K ProRes Raw ด้วย Ninja V
+ ซีลป้องกันฝุ่นและละอองน้ำ
+ การจัดการตัวกล้องทำได้อย่างดีเยี่ยม
+ ช่องเสียบการ์ด SDXC 2 ช่อง
ข้อเสีย
– คลังเลนส์ L-mount ยังมีไม่มากนักแต่ก็ยังคงได้รับการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ
– โฟกัสการติดตามจำกัดที่ 6fps
กล้อง Panasonic Lumix DC-S5 เหมาะกับ Creator ที่ต้องการใช้งานกล้องได้หลากหลายทั้งในการถ่ายภาพนิ่งและบันทึกวิดีโอ หรือ vlogger ที่ต้องการกล้องอเนกประสงค์ และช่างภาพที่ต้องการประสบการณ์ที่ดีกว่าการใช้สมาร์ทโฟนและพกพาสำหรับการเดินทางด้วยก็ควรพิจารณากล้องนี้ด้วยเช่นกัน
เนื่องจากเราชอบการซูม 20-60 มม. ซึ่งเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเป็นพิเศษ ซึ่งมุมเริ่มต้นที่กว้างเป็นพิเศษ 20 มม. นี้ได้มอบข้อดีสำหรับการถ่ายภาพภูมิทัศน์และภาพในอาคารได้อย่างดี เมื่อเทียบกับชุด kit ซูมทั่วไปที่เริ่มต้นที่ 24 มม. หรือ 28 มม.
4. Sony a1
ข้อดี
+ เซนเซอร์ Stacked full-frame 50MP
+ การถ่ายภาพ Raw สูงสุด 30fps
+ โฟกัสอัตโนมัติและการติดตามวัตถุที่ยอดเยี่ยม
+ การบันทึก 10bit 8K ภายใน
+ การบันทึก 4K120 สำหรับโหมด slow motion
+ ระบบป้องกันภาพสั่นไหว 5 แกน
+ ช่องมองภาพมีกำลังขยายสูง
+ มีซีลป้องกันฝุ่นและละอองน้ำ
+ ช่องเสียบการ์ด CFexpress/SDXC 2 ช่อง
ข้อเสีย
– จอแสดงผลด้านหลังไม่น่าประทับใจเท่าที่ควร
– การบันทึกวิดีโอ 8K ค่อนข้างกินแบตเตอรี่
กล้อง A1 เป็นกล้องหนึ่งในกล้องอเนกประสงค์ที่ค่อนข้างน่าประทับใจ เนื่องจากมันมีระบบโฟกัสอัตโนมัติใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยมทั้งสำหรับการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ นอกจากนี้มันยังเหมาะกับช่างภาพสัตว์ป่าด้วยการตรวจจับสัตว์และการครอบตัดที่ยืดหยุ่นของชิป 50MP
ในขณะเดียวกันก็เหมาะกับช่างภาพกีฬาเช่นกันเนื่องจากมุมมองที่ไม่สะดุดของเซนเซอร์ EVF และ Stacked CMOS ดังนั้นเมื่อดูและจะพบว่ากล้อง A1 เป็นกล้องที่อาจจะมากเกินต่อความต้องการของ beginner แต่มืออาชีพและนักถ่ายภาพชัตเตอร์น่าจะชอบมัน
5. Sony a7 IV
ข้อดี
+ ระบบป้องกันภาพสั่นไหว full frame ทั้งในการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ
+ ความละเอียด 33MP ที่เหลือพื้นที่ให้ครอบตัดได้
+ วิดีโอ 4K60 พร้อมการสุ่มตัวอย่างสี 10 bit
+ การติดตามวัตถุได้สูงสุดถึง 10fps
+ การควบคุมที่กำหนดค่าได้
+ การจดจำวัตถุ คน สัตว์ และนก
+ คลังเลนส์ขนาดใหญ่
ข้อเสีย
– ถ่ายภาพต่อเนื่อง 6fps ที่การตั้งค่าคุณภาพสูงสุด
– จอแสดงผลด้านหลังไม่คมชัดเท่าที่ควร
– โฟกัสการตรวจจับดวงตาไม่ตรงจุดด้วย firmware ปัจจุบัน
กล้อง Sony a7 IV นี้มีเซนเซอร์ภาพ 33MP BSI CMOS ที่เสถียรและวิดีโอ 4K60 ตอบสนองความต้องการของ mixed-media creator และมันยังได้รับคุณสมบัติของโฟกัสอัตโนมัติบางอย่างจากกล้อง A1 ระดับ high-end รวมไปถึงการตรวจจับสายตาคนและสัตว์ป่าหลายประเภท นอกจากนี้ยังมีเลนส์มากมายสำหรับระบบของ Sony มากกว่าระบบอื่นๆ ด้วย ดังนั้น A7 IV จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับนักถ่ายภาพที่ต้องการถ่ายภาพหลากหลายประเภทเช่น การถ่ายภาพมุมกว้าง telephoto หรือ macro