หากพูดเรื่องของระบบกล้องที่มีชื่อเสียงที่สุดคงไม่พ้นค่าย OM System และเราได้ทำการทดลองระบบ OM System ของ OM-1 ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับช่างภาพมืออาชีพ ด้วยโครงสร้างสไตล์ DSLR ที่ทนทาน, เซนเซอร์ซ้อนที่น่าประทับใจและเลนส์ที่ยอดเยี่ยม
ยังมีบางสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงที่พาดหัวข่าวเกี่ยวกับกล้องใหม่นี้ คือ Computational modes แน่นอนว่าการถ่ายภาพด้วยคอมพิวเตอร์นั้นมีไว้สำหรับเซนเซอร์ขนาดเล็กของสมาร์ทโฟนที่ด้อยกว่าที่คิด
‘Computational modes’ ไม่เพียงแต่สั่งการพื้นที่เฉพาะภายในเมนูของ OM-1 การจัดการและการส่งออกของโหมดเหล่านี้มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา และนั่นผมคิดว่าเป็นการพูดถึงอนาคตของ Micro Four Thirds หรือกล้อง mirrorless ที่ไม่ธรรมดาเลยครับ
Computational photography คืออะไร?
เรารู้จักเกี่ยวกับโหมด Portrait ซึ่งเป็นการถ่ายภาพด้วย computational ที่อยู่บนสมาร์ทโฟนมานานแล้ว และมีหลายรุ่นเลยที่สามารถถ่ายภาพคนได้ แต่ประสิทธิภาพในการถ่ายนี้คงต้องพูดถึงเรื่องของหน้าชัดหลังเบลอ
โดยการทำงานของกล้องทำด้วยการตรวจจับขอบ ซึ่งนั่นส่งผลต่อการแยกตัวแบบออกจากพื้นหลัง และใช้ในส่วนของระบบทำการเบลอแบบสม่ำเสมอกับสภาพแวดล้อมรอบตัว เพื่อทำให้ตัวแบบของคุณโดดเด่น เอฟเฟกต์โหมด Portrait ถือได้ว่าเป็นสิ่งวิเศษและให้ทำได้ดีพอๆกับกล้องใหญ่เลยสำหรับบางตัว
แน่นอนว่าในมือถือเองก็มีการอัปเดตใหม่ๆ ออกมาเสมอ ทำให้ประสิทธิภาพของ Computational photography ที่ดีขึ้นแบบที่เห็นได้ชัด นอกจากนี้ในการอัปเดตยังได้มีการใส่โหมดเคลื่อนไหวมาให้ด้วย โดยสามารถเพิ่มภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวได้ เหมือนกับที่คุณได้รับจากการเพิ่มฟิลเตอร์ ND สำหรับทิวทัศน์ที่มีการเปิดรับแสงเป็นเวลานาน และมีอีกหลายอย่างที่มาในการอัปเดต เรียกได้ว่าถ่ายสนุกแน่นอน
ถึงแม้ Computational photography เรามักจะเชื่อมโยงเข้ากับการถ่ายภาพ computational กับสมาร์ทโฟน ที่จริงแล้ว Olympus เป็นผู้บุกเบิก ขยายการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ในกล้อง Micro Four Thirds เป็นเจ้าแรกๆ และได้นำมาใส่ไว้ในกล้องที่ดีที่สุดตัวหนึ่งนั้นคือ OM System OM-1 ตัวใหม่
การถ่ายภาพด้วย Computational ช่วยให้กล้องทำสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นไปไม่ได้เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การจำกัดของขนาดเซนเซอร์ ให้เป็นไปได้ เพราะด้วยขนาดของเซนเซอร์ Micro Four Thirds ของ OM System OM-1 มีขนาดใหญ่กว่าเซนเซอร์บนสมาร์ทโฟนที่คุณพบอย่างในมือถืออย่าง Google Pixel 6 ทำให้สามารถทำอะไรได้มากกว่าแค่ที่คุณเห็น
ในเรื่องของความละเอียด 20MP ของ OM-1 จะดูซีดกว่าเมื่อเทียบกับความละเอียด 61MP ของกล้อง full-frame Sony A7R IV ดังนั้นเพื่อเพิ่มขนาดภาพ กล้อง OM-1 สามารถใช้โหมด ‘High Res Shot’ เพื่อรวมภาพหลายภาพเป็นภาพเดียวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุดที่ 80MP
ในโทรศัพท์เราจะใช้เลนส์ multi, ซอฟต์แวร์ และ AI เพื่อนำไปใช้การถ่ายภาพด้วย computational ในทางตรงข้ามกันกล้องอย่าง OM-1 มักจะทำโดยการใช้โหมด multi-shot รวมภาพหลายภาพเข้าเป็นภาพเดียว แต่ยังคงเป็นทฤษฎีเดียวกันแต่มีวิธีการและวัตถุประสงค์ต่างกัน และถูกออกแบบมาตามความเหมาะสม
นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในการใช้การถ่ายภาพด้วย เพราะ computational บนสมาร์ทโฟนโดยอัตโนมัติจะสร้างการถ่ายภาพด้วย computational อย่าง HDR เข้าไปในการจัดการ แต่หากเป็นกล้อง ในขณะที่อยู่ในโหมด computational จะสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อีกมากมายเลย
สิ่งที่สอดคล้องกันระหว่างสมาร์ทโฟนและเทคโนโลยีกล้องคือการปรับปรุงฮาร์ดแวร์ทำได้ช้าลง และการพัฒนาที่น่าตื่นเต้นที่สุดอยู่ในโลกแห่ง computational มีอีกหลายอย่างที่กำลังพัฒนาให้ดีขึ้น อาจต้องรอกันหน่อย แต่คงไม่นานเกินรอที่จะได้เห็นระบบใหม่ๆ จากเทคโนโลยี
จุดสูงสุดของ Olympus
OM-1 ตอนนี้มีเมนูเฉพาะสำหรับ ‘โหมด computation’ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่ถูกเพิ่มเข้ามา ในการถ่ายภาพจากกล้อง mirrorless ตัวนี้
ซึ่งยังคงมีโหมดพิเศษอย่าง‘High Res Shot’, Live ND, HDR, โฟกัสซ้อน และการเปิดรับแสงหลายครั้ง รวมอยู่เช่นเดิม แต่น่าแปลกที่ไม่มีการอัปเดต computation ตัวใหม่เพิ่มเข้ามาในครั้งนี้ แต่อย่างไรก็ตามลูกเล่นและจัดการและประสิทธิภาพของลูกเล่นในกล้องเหล่านี้ เรียกได้ว่าทำออกมาน่าพอใจไม่น้อย เพราะถือได้ว่าได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นจริงๆ
หากคุณต้องการเอฟเฟกต์ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว ทิ้งฟิลเตอร์ ND ของคุณไปได้เลย และลอง Live ND ซึ่งตอนนี้สามารถเพิ่มได้ถึง 6EV (หรือ 6 stop) จับคู่กับระบบการป้องกันภาพสั่นไหวที่น่าประทับใจของ OM-1 ได้อย่างดี โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีขาตั้งกล้องให้เมื่อยอีกต่อไป
แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้เก็บรายละเอียดในที่สว่างและส่วนที่มือของรูปภาพจากกล้อง แต่คุณสามารถ เลือก HDR เพื่อเพิ่มช่วงไดนามิกสูงสุด +2EV แต่คุณยังอาจจะไม่พอใจในช่วงของไดนามิก อาจใช้โหมดการถ่ายภาพความละเอียดสูงที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มขนาดภาพเป็นหลัก และภาพของคุณอาจชมชัดเทียบได้กับกล้อง 50MP เลยทีเดียว
อะไรอยู่เบื้องหลังการปรับปรุงการทำงาน?
กำลังการประมวลผล กล้อง OM-1 มีเครื่องประมวลผลที่ทรงพลังมากกว่า E-M1 II ถึงสามเท่า บวกกับเซนเซอร์แบบซ้อนที่ความเร็วการอ่านสองเท่า รูปภาพโหมด computation ถูกประมวลผลเร็วกว่าอย่างน้อยสองเท่า
แต่โดยส่วนตัว ผมรู้สึกว่าค่อนข้างช้ากับการรอเพื่อให้ภาพความละเอียดสูงนั้นแสดงขึ้นบนหน้าจอกล้อง หลังถ่ายเสร็จ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าสำหรับผมเลยคือเรื่องของความยืดหยุ่นในขั้นตอนการจับภาพ และผลกระทบที่เกิดกับภาพสุดท้าย ในตอนนี้ถือว่ายังมีข้อจำกัดในการใช้งานจริงสำหรับการถ่ายภาพด้วย computational แต่ระบบประมวลผลก็เรียกได้ว่าทำออกมาได้ดีจนน่าพอใจ แต่ถ้าปรับปรุงได้จะดีมาก
สิ่งที่หลายคนอยากให้มีใน computational
หลายคนคงอยากให้มีการรวมภาพ 20MP หลายภาพเป็นภาพเดียว แต่คงต้องใช้เวลาในขั้นตอนการถ่ายภาพค่อนข้างนานและยังไม่สามารถทำได้ในเทคโนโลยีสมัยนี้ เมื่อมีการเคลื่อนไหวในฉากหรือภาพถ่ายอย่างการวาดไฟกล้อง ซึ่งอาจรวมถึงเคลื่อนไหวของต้นไม้ที่ไหวตามลม หรือคนกำลังเดิน ซึ่งยังทำออกมาได้ไม่ดีพอ
หลายคนคาดหวังให้เซนเซอร์อ่านค่าที่เร็วขึ้น และตัวประมวลผลดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อขับเคลื่อนผ่านภาพหลายช็อตด้วยความเร็วในการจับภาพที่เกิดจากการซ้อนกัน
และถึงแม้ว่าการถ่ายภาพด้วย computation ถูกนำไปใช้แตกต่างกันในกล้อง OM System มากกว่าสำหรับสมาร์ทโฟน อย่างเช่น Focus Stacking ช่วยเพิ่มระยะชัดลึกสำหรับการถ่ายแบบต่างๆ เช่น การถ่ายภาพ macro แต่ในกล้องทั่วไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่ยังมีหลายคนถามหา และอยากให้พัฒนาอย่างเต็มที่ในกล้องถ่ายภาพอยู่
OM-1 มีความสามารถเพิ่มจากรุ่นก่อน ในขณะที่กล้องรุ่นอื่นๆ เช่น Nikon Z9 นั้นนิ่งเร็วกว่า แต่หวังอย่างยิ่งว่า OM-System ในรุ่นต่อไป เราจะเห็นความสามารถที่มากกว่านี้นำประยุกต์ใช้ใน computational ที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม