กล้องรุ่นนี้ถูกผลิตออกมาโดยมีคุณสมบัติของกล้อง Nikon D850 และ baby Z9 ซึ่งมันให้ความรู้สึกเหมือนกับ Z-series ที่เทียบเท่ากับ D850 ด้วย form factor ที่คล้ายกัน แต่บีบสเปคระดับ high-end ทั้งหมดของรุ่น flagship Z9 ให้กลายเป็นตัวกล้องที่เล็กลงและราคาที่ถูกลงด้วย ฉะนั้นในบทความนี้เราจึงได้รวบรวมทั้งข้อดี ข้อเสีย รวมไปจนถึงโครงสร้างตัวกล้อง และการจัดการมาให้ทุกท่านเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการเลือกซื้อกล้องเพื่อความสะดวกมากขึ้น
สเปกเบื้องต้น
เซนเซอร์: 45.7MP full frame stacked CMOS
ตัวประมวลผลถ่าย: Expeed 7
โฟกัสอัตโนมัติ: 493 จุดสำหรับตรวจจับ phase และ493 จุดสำหรับตรวจจับคอนทราสต์
ระบบป้องกันภาพสั่นไหว: 5 แกน, 5.5 สต็อป (สูงสุดถึง 6 สต็อปด้วยเลนสเฉพาะ)
การถ่ายภาพต่อเนื่อง: RAW 20fps, JPEG ความละเอียดสูงที่ 30fps, JPEG ความละเอียดต่ำที่ 120fps
วิดีโอ: 8K สูงสุด 60p, 4K สูงสุด120p, H.2658 หรือ 10-bit, Apple ProRes 10-bit 4:2:2 HQ, ProRes RAW HQ 12 bit ในตัวกล้อง
ช่องมองภาพ: OLED ที่ให้ความสว่างสูงสุด, 3.69m dots, ครอบคลุมถึง 100%
หน้าจอ LCD: หน้าจอสัมผัสแบบ bi-directional tilting ขนาด 3 นิ้ว, 1.04m dots
ขนาด: 144 x 118 x 83มม.
น้ำหนัก: 910 กรัม
ตัวกล้องมีเซนเซอร์ Stack CMOS 45.7MP ซึ่งมีอัตราการสแกนที่เร็วที่สุดในกล้องทั่วไป แม้นี้อาจไม่ใช่เซนเซอร์ ‘global’ ที่สามารถจับภาพได้ทันที แต่มันก็ให้การ render ภาพทีละบรรทัดในลักษณะเดียวกับเซนเซอร์แบบดั้งเดิมซึ่งมันทำได้รวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ
และเมื่อคุณถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วๆ หรือแพนกล้องอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวจะเด่นชัด ทำให้ภาพถ่ายที่ได้มีนั้นขาดเล็กน้อย แต่สิ่งจะแก้ได้คือคุณต้องใช้งานชัตเตอร์ mechanical ในการบันทึกภาพเท่านั้น ซึ่งมันมีความเร็วชัตเตอร์สูงสุดคือ 1/32000 วินาทีซึ่งเร็วกว่าที่พบในกล้องระดับ high-end ส่วนใหญ่ถึง 4 เท่า ซึ่งโดยทั่วไปจะมีความเร็วสูงสุดที่ 1/8000 วินาที
ประโยชน์ของการออกแบบที่ไม่มีชัตเตอร์ยังมีอีกมาก เช่น สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องที่ 120fps ได้อย่างน่าทึ่ง แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็น JPEG ความละเอียดต่ำแต่ในขณะเดียวกันมันก็ยังสามารถถ่ายภาพ JPEG ความละเอียดสูง 45.7MP ที่ 30fps หรือ ไฟล์ RAW ที่ 20fps และทั้งหมดนี้มาพร้อมกับโฟกัสอัตโนมัติเต็มรูปแบบและการเปิดรับแสงอัตโนมัติระหว่างเฟรม
ดังที่ได้กล่าวไว้ เซนเซอร์ 45.7MP เป็นเซนเซอร์เดียวกับที่พบใน Z9 โดยมีจุด AF ถึง 493 จุดที่ให้การครอบคลุมพื้นที่เซนเซอร์ได้ถึง 90% ทำให้ระบบ AF ขั้นสูงสามารถจับวัตถุที่ขอบเฟรมได้ ซึ่งมันเป็นเซนเซอร์แบบ back-side illuminated stacked ซึ่งมันได้รับการปรับปรุงให้สามารถถ่ายภาพในที่แสงน้อยให้ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับการออกแบบแบบดั้งเดิม
โครงสร้างและการจัดการ
ความแข็งแรงของ Z9 ภายนอกให้ความรู้สึกเหมือนกล้อง mirrorless เทียบเท่ากับ D850 แม้ว่าตัวกล้องจะเล็กกว่าประมาณ 15% ก็ตาม แต่มันหนากว่ากล้องในกลุ่ม Z6/7 ของ Nikon อย่างเห็นได้ชัด และยังมีการควบคุมในการเข้าถึงโดยตรงได้มากกว่าอีกด้วย
กล้องรุ่นนี้ไม่มีแป้นปรับโหมดการรับแสง แต่มีปุ่ม ‘shoulder’ สี่ปุ่มเหมือนกับกล้อง D850 ซึ่งสิ่งนี้ทำให้คุณสามารถปรับการตั้งค่าได้โดยตรงมากขึ้นเช่น white balance, drive mode, bracketing, และโหมดการรับแสง นอกจากนี้ยังมีปุ่มเฉพาะสำหรับหมุนเปลี่ยนการใช้งานระหว่างโหมด AF-S, AF-C และโหมดโฟกัสแบบ manual
ซึ่งโดยรวมแล้วมันให้การจัดการที่ยอดเยี่ยมมาก เนื่องจากมันให้ด้วยขนาดที่บางกว่า Z6/7 เล็กน้อยและมีปุ่มเข้าถึงโดยตรงเพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้ช่วยให้มีประสบการณ์ในการถ่ายภาพที่มากขึ้นและเป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วย
Z8 มีจอ LCD แบบสองแกนที่ปรับเอียงได้คล้ายกับ Z9 ซึ่งสามารถทำมุมได้ 90° ในทั้งแนวนอนและแนวตั้งได้สำหรับการถ่ายภาพมุมสูงและมุมต่ำ และยังรวมไปถึงหน้าจอที่แสดงข้อมูลก็ยังสามารถหมุนได้อีกด้วยเมื่อคุณถือกล้องเป็นแนวตั้งทำให้เราสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างสะดวกและง่ายมากขึ้น และหน้าจอแสดงผลยังให้มาถึง 3.69 ล้าน dot ซึ่งมันสว่างและแทบไม่มีความล่าช้าให้เห็นเลยแม้แต่น้อย
นอกจากนี้ตัวโครงกล้องยังเป็น magnesium alloy และซีลป้องกันสภาพอากาศ ความชื้นและฝุ่นละอองเพื่อความทนทานที่สูงขึ้นอีกด้วยและเช่นเดียวกับ Z9 ที่สามารถทำงานได้ในอุณหภูมิต่ำถึง -10ºC
คุณภาพแบตเตอรี่
ปัญหาของกล้องขนาดเล็กที่ชัดเจนอย่างหนึ่งเลยก็คือ แบตเตอรี่ในกล้องก็จะมีขนาดที่เล็กลงด้วยเช่นกัน โดยกล้อง Z8 ใช้แบตเตอรี่ประเภท En-EL15C พร้อมรองรับ En-EL15A และ B แบบเก่าด้วยเช่นกัน
และ CIPA ให้คะแนนการใช้งานอยู่ที่ 325ภาพ/การชาร์จ 1 ครั้ง แต่ในการใช้งานจริงมันสามารถถ่ายภาพได้มากกว่าที่กล่าว และหลังจากที่เราได้ทดลองกล้อง เราใช้เวลา 2 วันเต็มโดยได้ภาพถ่ายมากกว่า 2พันภาพต่อว่าและก็ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่วันละครั้ง แน่นอนว่า Nikon Z9 อาจใช้เวลาทั้งวันและมากกว่านั้นก่อนที่แบตเตอรี่จะหมด แต่อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ใช่ปัญหาที่ใหญ่นักเพราะการพกแบตเตอรี่สำรองไว้ก็เป็นทางเลือกที่ดีและปลอดภัย
คุณภาพของภาพถ่าย
(เครดิต: Richard Butler)
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่ากล้อง Z8 ใช้เซนเซอร์แบบเดียวกันกับรุ่น Z9 และสิ่งนี้จึงเป็นคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมด้วยเซนเซอร์ 45MP ที่ให้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม Z8 มี ISO พื้นฐานที่ต่ำมากเหมือนกันที่ 64 ซึ่งส่งผลให้ภาพที่จุดรบกวนที่ต่ำมาก และให้ความสามารถในการเพิ่มแสงในเงามืดโดยสร้างความเสียหายน้อยที่สุด
นอกจากเซนเซอร์ที่เหมือนกันของทั้งสองกล้องนี้ มันยังใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเดียวเหมือนกันอีกด้วย ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลให้ภาพถ่ายมีการสูญเสียช่วงไดนามิกไปเล็กน้อย และแน่นอนว่ากล้องชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์อาจมีปัญหาเกี่ยวกับ Rolling Shutter แต่ก็ไม่อะไรให้กังวลมาก เนื่องจากเซนเซอร์ของ Z8 ให้การอ่านค่าด้วยความเร็วที่รวดเร็วมาก นอกจากนี้ยังต้องขอบคุณชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ Z8 สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้รวดเร็วอย่างน่าประทับใจ