ไม่บ่อยนักที่จะสามารถพบเห็นกล้องที่มีโหมดเฉพาะสำหรับการดับเพลิง แต่รุ่นนี้มี นั้นเป็นเพราะกล้องถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานในอุตสาหกรรมจึงมาพร้อมกับความสามารถในการป้องกันสารเคมีเพิ่มเติมได้ด้วย
Ricoh G900 เปิดตัวมาพร้อมๆ กับกล้อง Ricoh WG-6 ในปี 2562 จึงอาจทำให้ Ricoh G900 ดูล้าสมัยไปสักหน่อย แต่ไม่ว่าอย่างไรมันก็ถือว่าเป็นตัวเลือกในประเภทกล้องกันน้ำได้ หากคุณต้องการพกพาไปใช้ในวันหยุดหรือการผจญภัยประจำวันของคุณ กล้องนี้จึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีเลยทีเดียว
และอย่างที่เรากล่าวไปตอนต้นว่ามันมีโหมดเฉพาะที่ไม่ได้หาได้ทั่วไป ทำให้มันจึงมีราคาที่สูงกว่าตามคุณสมบัติเพิ่มเติมของมัน และเมื่อพิจารณาว่าสเปกของ Ricoh WG-6 ก็แทบเหมือนกันทุกประการ ทำให้จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากหากต้องตัดสินใจ
ฉะนั้นคุณจึงต้องพิจารณาถึงราคากับความคุ้มค่าที่คุณจะได้รับ ว่าคุณต้องการคุณสมบัติเพิ่มเติมของมันหรือไม่ และในบทความนี้เราจึงได้รีวิวถึงคุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสีย และรวมไปถึงคุณภาพของภาพถ่ายที่ได้รับด้วยเพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นดังนี้
สเปกเบื้องต้น
เซนเซอร์: CMOS มีประสิทธิภาพที่ 20MP ขนาด 1/2.3 นิ้ว
ช่วงความไว: ISO 125 – 6400 (ในโหมดอัตโนมัติ)
การถ่ายภาพต่อเนื่อง: 3fps
เลนส์: 5-25มม. (ขยายได้ถึง 28-140 มม.)
การซูมออปติคัล: 5x
วิดีโอ: 4K/30p, Full HD ที่ 30fps
หน้าจอแสดงผล: หน้าจอคงที่ขนาด 3 นิ้ว, LCD มีความละเอียดอยู่ที่ 104K-dot
ช่องมองภาพ: ไม่มี
อายุการใช้งานแบตเตอรี่: ถ่ายได้มากกว่า 340 ภาพ/การชาร์จ 1 ครั้ง (มาตรฐาน CIPA)
ขนาด: 118 x 66 x 33 มม.
น้ำหนัก: 247 กรัม (รวมแบตเตอรี่และการ์ด)
ข้อดี
+ ตัวกล้องให้ความสามารถในการกันน้ำและป้องกันสารเคมี
+ ความสามารถในการสแกนบาร์โค้ด
+ คุณภาพของภาพถ่ายที่เหมาะสม
+ ไฟวงแหวนสำหรับการถ่ายภาพมาโคร
ข้อเสีย
– ระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบดิจิทัล
– ไม่มีการเชื่อมต่อ WiFi หรือบลูทูธ
– ใช้งานไม่ดีในที่แสงมาก
– ราคาค่อนข้างสูง
ดังที่เราได้กล่าวไปแล้ว Ricoh ออกแบบ G900 สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ แต่คุณจะซื้อมันไปใช้งานในชีวิตประจำวันก็ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากคุณเปลี่ยนแป้นหมุนเลือกโหมดเป็น SCN และกดปุ่ม Menu คุณจะได้รับโหมดสำเร็จรูป เช่น Firefighting, Text Mode, Zoom Macro (การเพิ่มประสิทธิภาพการซูมอัตโนมัติสำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่ใหญ่กว่าการถ่ายภาพมาโคร) และ Remove Haze แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้มันทำงานอย่างยอดเยี่ยมสำหรับการถ่ายภาพในชีวิตประจำวัน
สิ่งที่ยอดเยี่ยมอีกอย่างของกล้องรุ่นนี้คือ ความสามารถใต้น้ำเช่นเดียวกับกล้อง WG-6 ที่สามารถดำน้ำลึกได้ถึง 20 ม.ได้อย่างง่ายดายนานถึง 2 ชั่วโมงและมันยังมาพร้อมกับไฟวงแหวน LED หกดวงรอบเลนส์เพื่อช่วยในการถ่ายภาพระยะใกล้ในแสงสลัวให้ดีมากขึ้น
นอกจากนี้มันยังให้ความสามารถที่แสดงถึงความทนทานอีกระดับ ด้วยความสามารถใยการป้องกันการตกจากความสูง 2.1 ม. และป้องกันการกระแทกได้ถึง 100 กก. และก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงตัวกล้องที่มีความทนทานต่อสารเคมีซึ่งสามารถจัดการกับสารฆ่าเชื้อที่รุนแรงบางชนิดได้ ทำให้เหมาะสำหรับใช้ในสถานพยาบาลหรือห้องแล็บ
นอกจากนี้กล้องยังมีฟีเจอร์สแกนบาร์โค้ดและความสามารถในการเพิ่มบันทึกข้อความ และคุณต้องใช้ผ่านซอฟต์แวร์ LE2 ของ Ricoh เท่านั้นซึ่งมันช่วยให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลไปยังหน่วยความจำภายในของกล้อง (มีที่เก็บข้อมูลในตัวขนาด 6.5GB ที่เหมาะสม) และการ์ด SD ของคุณได้
แต่ก็ยังมีข้อเสียที่น่าเสียด้านเช่นกันเนื่องจาก G900 ไม่ได้ให้การเชื่อมต่อ Wi-Fi, Bluetooth หรือ NFC แม้ว่าจะเปิดใช้งาน GPS ก็ตาม แต่ข้อดีอีกอย่างของมัน คือตัวกล้องสามารถตั้งรหัสผ่านเข้าใช้งานได้ซึ่งรวมไปถึงระบบเมนู การ์ด SD ที่คุณใช้ และพอร์ตเชื่อมต่ออีกด้วย
ส่วนสเปกอื่นๆ ก็ค่อนข้างเหมือนกับกล้อง WG-6 รวมไปถึงเซนเซอร์ BSI-CMOS ความละเอียด 20MP 1/2.3 นิ้วเหมือนกัน การจับภาพวิดีโอ 4K/30p ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่อง 3fps และระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบดิจิตอล
ตัวกล้องและการจัดการ
ตัวกล้อง Ricoh G900 ไม่ได้บอกว่ามันมีความทนทาน สมบุกสมบันเนื่องจากตัวกล้องส่วนใหญ่เป็นพลาสติก และน้ำหนักของตัวกล้องก็เท่าๆ กันกับ WG-6 โดย G900 มีน้ำหนักรวมทั้งแบตเตอรี่และการ์ด SD มากกว่าเพียง 1 กรัมเท่านั้น ซึ่งในการใช้งานจริงนั้นแทบไม่รู้สึกถึงความแตกต่างเลย
ด้านหน้าของตัวกล้องมีแผงสีขาวที่โดดเด่นสะดุดตา และขอบยางที่มีพื้นผิวช่วยให้จับได้ถนัดมือ แม่ด้ามจับจะไม่ได้ลึกมากนักแต่มันก็ดีกว่า WG-6 นิดหน่อย และเพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น G900 ยังมาพร้อมกับสายยาวแทนที่จะเป็นสายรัดข้อมือที่มากับกล้อง WG-6
เมื่อดูจากตัวกล้องจะพบว่ามันคล้ายกับกล้อง WG-6 แทบทุกส่วนยกเว้นปุ่มชัตเตอร์เล็ก ๆ ที่เป็นสีเหลืองสดบน G900 ปุ่มหมุนบนเพลทด้านบนมีโหมดเดียวกัน และปุ่มหมุนบนเพลทด้านบนมีโหมดเดียวกัน
ด้านหลังกล้องเป็นพื้นที่ของหน้าจอขนาด 3 นิ้วที่ยังคงเป็นแบบคงที่ 1,040,000 จุดเหมือนกัน และเลนส์ด้านหน้ายังใช้ช่วงทางยาวโฟกัสและการซูมแบบออปติคัลร่วมกัน และยังมีไฟวงแหวนมาโครที่มาพร้อมกับขาตั้งวงแหวนที่ติดอยู่ที่หน้าเลนส์และสามารถใช้สำหรับโหมดมาโคร 1 ซม. ที่พบได้เมื่อคุณกดไอคอนรูปดอกไม้บนแป้นสี่ทิศทาง
แต่ด้วยหน้าจอ LCD ด้านหลังที่ไม่ได้เป็นระบบสัมผัส ทำให้เมื่อต้องการใช้งานหรือเข้าถึงเมนูต่างๆ ต้องทำผ่านการกดปุ่มทั้งหมด และในส่วนของแบตเตอรี่และการ์ด SD ก็ยังคงอยู่ใต้ตัวกล้องเช่นเดียวกับกล้อง WG-6 ในช่องนี้ยังมีพอร์ต micro HDMI และการเชื่อมต่อ USB-C สำหรับการถ่ายโอนไฟล์และชาร์จแบตเตอรี่ในกล้องอีกด้วย
ประสิทธิภาพ
(เครดิต: Sharmishta Sarkar / Digital Camera World)
หลังจากที่เราได้ทดสอบการใช้งานกล้องแล้วพบว่า แม้เราจะถ่ายที่กลางแจ้งที่มีแสงเพียงพอและใช้งานในโหมดอัตโนมัติแต่ภาพที่ได้จากกล้อง G900 ก็ยังให้ภาพที่แสงน้อยเกินไปอยู่ดี
และตัวกล้องให้ความสามารถในการถ่าย JPEG เท่านั้นทำให้ไม่สามารถแก้ไขภาพหลังจากที่ถ่ายแล้วได้ แต่หลังเราได้ทดสอบแล้วพบว่าหลังจากบันทึกแล้วสามารถปรับแต่งใน Lightroom ได้อีกเล็กน้อย
แต่ในทางกลับกันเมื่อถ่ายในที่ร่มหรือด้านในอาคาร เรากลับพบว่ากล้อง G900 ทำงานได้ดีมากแม้จะใช้แสงธรรมชาติปานกลางก็ตาม เนื่องจากภาพที่ได้นั้นน่าประทับใจมาก ด้วยสีที่สวยงาม และรายละเอียดในที่เงามืดก็ทำได้ดีมาก