การถ่ายภาพทิวทัศน์เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการออกไปผจญภัยกลางแจ้งด้วยกล้องของคุณ ซึ่งสามารถเป็นเครื่องมือในการฝึกฝนของคุณ และถ่ายภาพอันน่าทึ่งของเนินเขา ท้องฟ้า กังหันลม ประภาคาร และอื่นๆ อีกมากมาย
ซึ่งจริงๆ แล้วการถ่ายภาพทิวทัศน์ๆ ให้สวยงามอาจดูซับซ้อนมากกว่าที่เราคิดเล็กน้อย และแน่นอนว่ามีช่างภาพผู้เชี่ยวชาญการถ่ายทิวทัศน์ และผู้ที่ต้องการและสนใจจะเป็นช่างภาพทิวทัศน์อยู่มากเช่นกัน โดยยกตัวอย่างเช่น Marcus เป็นช่างภาพมืออาชีพมามากกว่า 18 ปี ซึ่งอาศัยและทำงานทั่วโลก โดยเมื่อปี 2545 เข้าได้รับรางวัลช่างภาพแห่งปีของ Practical Photography (สหราชอาณาจักร) และทำงานเชิงพาณิชย์ให้กับ Caffè Nero และ China Southern Airlines และอื่น ๆ
ดังนั้นในรายงานนี้เราจึงได้นำ 9 เทคนิคสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ที่ทำให้ภาพสวยงามและน่าสนใจ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาได้รับจากการเก็บเกี่ยวความรู้และเทคนิคในการถ่ายภาพทิวทัศน์มาเป็นเวลาหลายปี และได้ทำการสรุปรวบรวมมาไว้ ณ ที่นี้ดังนี้
1. ตรวจเช็ค Histogram
Marcus จะเช็ค Histogram เมื่อถ่ายภาพอยู่เสมอ เนื่องจากกราฟนี้จะแสดงโทนสีทั้งหมดในฉากของคุณ ตั้งแต่เงาที่มืดที่สุดทางซ้ายไปจนถึงไฮไลท์ที่สว่างที่สุดทางขวา และโทนสีกลางทั้งหมดที่อยู่ระหว่างนั้น
โดยเขาอธิบายว่าสำหรับการเปิดรับแสงที่สมดุล คุณต้องดูไม่ให้กราฟรวมเข้าด้วยกันเป็นด้านเดียวกัน แม้ว่ารายละเอียดเงาจะช่วยเหลือได้ง่ายกว่ารายละเอียดไฮไลต์ที่ถูกเบิร์นออกในภาพ RAWก็ตาม ซึ่งหมายความว่าเป็นการดีที่สุดที่จะเปิดรับแสงน้อยเกินไปเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีคลิปสีขาวทางด้านขวาของ Histogram
2. การตั้งค่าเริ่มต้น
Marcus ได้แนะนำให้เริ่มต้นด้วยค่ารูรับแสงที่ f/11 เพื่อความคมชัดที่เหมาะสมและระยะชัดลึกที่ชัดเจนตลอดทั้งเฟรม และตั้งค่า ISO เป็นระดับพื้นฐานที่ 100 เพื่อคุณภาพของภาพที่ดีที่สุด
และสุดท้าย พวกเขาตรวจสอบ Histogram และมาตรวัดแสง และหมุนด้วยความเร็วชัตเตอร์จนกว่าจะได้ภาพที่ดูดีและพึงพอใจบนหน้าจอ และไม่มีการตัดทอนโทนสีบน Histogram ซึ่งเป็น 1/8 วินาที
3. ขาตั้งกล้องระดับมืออาชีพ
ขาตั้งกล้องเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ เนื่องจากทำให้คุณสามารถล็อคกล้องให้อยู่กับที่เพื่อป้องกันการสั่นไหวที่อาจเกิดขึ้นได้ และยังช่วยในเรื่องขององค์ประกอบที่เคลื่อนไหวไม่ชัดเจน เช่น เมฆหรือน้ำ และช่วยให้คุณใช้เวลาในการจัดองค์ประกอบภาพให้ง่ายขึ้นอีกด้วย โดย Marcus ใช้ขาตั้งกล้อง Kingjoy C85 carbon fiber 4 ส่วน ซึ่งสามารถรองรับชุดอุปกรณ์ได้มากถึง 25 กก. โดยเขาใช้งานคู่กับ Manfrotto 322RC2 grip ball head เพื่อการจัดองค์ประกอบภาพที่รวดเร็ว
4. Kase filters
Marcus ใช้ฟิลเตอร์ที่หลากหลายจาก Kase รวมถึงฟิลเตอร์ Neutral Density (ND) ที่กักแสง ทำให้เปิดรับแสงได้นานขึ้น polarizing filters เพื่อลดแสงสะท้อนและเพิ่มสีฟ้าบนท้องฟ้า และการเลือกใช้ฟิลเตอร์กรองความหนาแน่นเป็นกลาง (GND) แบบแข็งและแบบอ่อนเพื่อทำให้ท้องฟ้าสว่างมืดลงเพื่อให้ได้ค่าแสงที่สมดุล
เขาทำงานร่วมกับ Kase เพื่อพัฒนาตัวกรองเดียวที่มีความหนาแน่นเป็นกลางทั้งแบบแข็งและแบบอ่อน ที่สามารถกลับด้านได้ง่ายและรวดเร็วเพื่อให้เข้าถึงทั้งสองอย่างได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ Kase Armour filter ยังเป็นแม่เหล็ก จึงสามารถถอดหรือวางซ้อนกันได้อย่างง่ายดาย
5. สายลั่นชัตเตอร์
สายลั่นชัตเรอ์เป็นอุปกร์ที่มีราคาถูกมา และมีประโยชน์อย่างมากสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ ดังนั้นคุณจึงควรมีมันติดกระเป๋าไว้ เนื่องจากมันทำให้คุณถ่ายภาพจากระยะไกลได้ ซึ่งคุณจะไม่ทำให้กล้องสั่นจากการกดปุ่มชัตเตอร์ และนั่นหมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องใช้โหมดตั้งเวลาถ่ายที่อาจทำให้ช้าลงได้ ส่วนใหญ่ยังช่วยให้คุณสามารถล็อคปุ่มชัตเตอร์ลงได้ ซึ่งเมื่อใช้กับโหมด Bulb ของกล้อง หมายความว่าคุณสามารถเปิดรับแสงได้นานหลายนาทีเมื่อถ่ายภาพ
6. แอปพลิเคชันพยากรณ์อากาศ
Marcus พึ่งพาแอปพลิเคชันในโทรศัพท์เพื่อติดตามสภาพอากาศและเวลาน้ำขึ้นน้ำลง โดยเขาใช้แอป XCWeather สำหรับการพยากรณ์อากาศที่เชื่อถือได้ ซึ่งทำให้เขาทราบสภาพอากาศตลอดทั้งวัน ตลอดจนเวลาพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก เนื่องจากการติดตามพยากรณ์อาการและน้ำขึ้นน้ำลงเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อต้องการถ่ายภาพบริเวณชายฝั่งที่ต้องการน้ำขึ้นและน้ำลง
7. รอแสงที่ใช่
(เครดิตภาพถ่าย: Future)
Marcus จัดเฟรมภาพบนต้นเบิร์ชสีเงินนี้ด้วยเลนส์ telephoto 70 – 200 มม. เพื่อถ่ายภาพตัวแบบที่อยู่ไกลให้เต็มเฟรม หากจะถ่ายภาพในตอนที่ท้องฟ้ามืดครึ้มต้องอดทนรอเพิ่ม 5 นาทีเพื่อจะได้แสงที่สวยงาม และแน่นอนว่ามันคุ้มค่าที่จะรอแสงที่สมบูรณ์แบบเพื่อให้แสงสว่างแก่ตัวแบบของคุณ เพราะแสงที่แตกต่างกันมันก็สามารถให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไปได้เช่นกัน
8. เลนส์ซูม telephoto
เลนส์ telephoto อาจจะดูเป็นทางเลือกที่แปลกสำหรับทิวทัศน์ เนื่องจากช่างภาพหลายคนชอบถ่ายภาพแนวนี้ด้วยเลนส์ยาว ซึ่งเลนส์ telephoto เป็นเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากกว่า 50 มม. ซึ่งเป็นมุมรับภาพที่แคบกว่าที่ตามนุษย์มองเห็น และทำให้ทุกอย่างดูใกล้ขึ้น โดยเลนส์ telephoto มีกำลังขยายที่ทำให้เกิดสิ่งที่มักเรียกกันว่า “การบีบอัด” ทำให้พื้นหน้าและพื้นหลังดูใกล้กันมากขึ้น
9. กล้อง full frame
Marcus เริ่มถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มขนาดใหญ่พิเศษมากขึ้นเพราะเขาชอบความท้าทาย แต่เขาก็ยังคงชอบที่จะนำกล้อง Canon EOS 5DS R ของเขาออกไปถ่ายภาพทิวทัศน์เช่นกัน เนื่องจากมันมีเซนเซอร์ full frame 50.6MP ที่สามารถจับภาพด้วยความละเอียดที่น่าทึ่ง